ประวัติความเป็นมาการก่อตั้ง รส.กฟผ.

             1. นับแต่ปี 2516 เป็นต้นมา ภาวะการครองชีพได้ถีบตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ จากดัชนีค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อย ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ประจำไม่อาจตามทันได้ แม้ว่าได้มีการปรับรายได้หลายครั้งก็ตาม แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ยังไม่อาจเพียงพอต่อรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะระบบเศรษฐกิจของไทย เป็นแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา นายทุนไม่ยอมแบ่งเบาภาระจากประชาชน ตรงกันข้ามกลับผลักภาระให้แก่ประชาชน ทุกครั้งที่มีการปรับราคาสินค้าจำเป็นบางประการ หรือการปรับค่าแรงขั้นต่ำ เมื่อเป็นเช่นนี้การรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน หรือผู้มีรายได้ประจำ เพื่อช่วยเหลือตนเองและเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชุมชนแต่ละชุมชน

          2. ความคิดริเริ่มจากฝ่ายบริหาร จากเหตุผลดังกล่าว ฝ่ายบริหารระดับบน ซึ่งมองเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง จึงได้ดำริก่อตั้งร้านค้าของสโมสรขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่นหน้าที่การงานของผู้ใหญ่ไม่อำนวยเวลาพอแก่การจัดกิจการค้า จึงเป็นเหตุให้การสั่งซื้อสินค้าในราคาที่สูงบ้าง ได้สินค้าที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคบ้าง และเป็นเหตุให้มีการรั่วไหลของทางการควบคุมกิจการ อีกประการหนึ่งคือ หลักการค้าเป็นไปแบบนายทุน กล่าวคือ มุ่งหวังกำไร เพื่อการขยายกิจการ โดยไม่คำนึงถึงการกำหนดราคที่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค รวมตลอดทั้งการจัดระบบการขายสินค้าเงินเชื่อ เป็นเหตุให้การหมุนเวียนของเงินทุนไม่คล่องตัว กิจการค้าของสโมสรจึงถูกสมาชิกตำหนิตลอดมา จนกระทั่งมีการดำริจะเลิกกิจการร้านค้า เพื่อหาเอกชนข้างนอกมาดำเนินการ หรือเชิญสหกรณ์ร้านค้าในกรุงเทพฯมาดำเนินการ

          3. ความคิดริเริ่มจากฝ่ายผู้ใช้แรงงาน เมื่อภาวะการช่วยเหลือของฝ่ายบริหารในกิจการร้านค้าของสโมสรไม่อาจอำนวยประโยชน์เท่าที่ควรแก่สมาชิก ตรงกันข้ามกับสร้างภาระแก่ผู้น้อยในระบบสินค้าเงินเชื่อ เป็นเหตุให้ผู้น้อยต้องชักหน้าไม่ถึงหลังในแต่ละเดือน สหภาพแรงงาน กฟผ. จึงได้มีการปรึกษาหารือกันในการจะตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้น เริ่มมีการศึกษาและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สหกรณ์จังหวัด และกรมส่งเสริมสหกรณ์ แต่เนื่องจากถูกจำกัดด้วยเหตุหลายประการ สร.กฟผ. จึงไม่อาจดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งหสกรณ์ร้านค้า ต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ เพียงแต่การจัดร้านสวัสดิการเฉพาะสมาชิกกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น  การดำเนินกิจการร้านสวัสดิการเริ่มจาก การมีสมาชิกประมาณ 300 คน มีทุนดำเนินการเพียง 5 พันกว่าบาท จำหน่ายแต่สินค้าจำเป็นประจำวันประเภทอุปโภคบริโภค แต่การดำเนินกิจการได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพียงเวลาไม่กี่เดือน ทุนดำเนินการด้านจัดซื้อสินค้าได้เพิ่มเป็น 3 หมื่นกว่าบาท การบริการได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนผู้บริหารตั้งรับสถานะการณ์แทบไม่ทัน

          4. ความคิดการประสานประโยชน์อย่างเป็นระบบ จากเหตุผลและสถานะภาพดังกล่าว 3 ข้อ จึงมีผู้ปฏิบัติงานระดับกลางกลุ่มหนึ่ง ได้มีการวิเคราะห์ และศึกษาระบบสหกรณ์ขึ้น โดยการช่วยเหลือของสันนิบาติสหกรณ์ ในการให้ข้อมูลเอกสารการก่อตั้งพอสมควร กลุ่มผู้ริเริ่มจึงได้มีการประชุม โดยเชิญบุคคลทุกระดับ มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้แทนสหภาพแรงงาน ผู้แทนสโมสรร่วมปรึกษาหารือ ในที่สุดมีมติว่าควรก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้น

          5. การดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เมื่อที่ประชุมได้มีมติจะก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้น จึงได้เลือกคณะกรรมการดำเนินการขึ้นคณะหนึ่งไปดำเนินการ คือ

1.

นายเกษม

ทองนพคุณ

2.

นายแพทย์เริงสันติ

สุดดีพงษ์

3.

นายสุกรี

เอื้ออนันต์

4.

นายทองสุก

หินวิมาน

5.

นายศิริวัฒน์

ศรีพิพัฒน์

6.

นายชูพงษ์

พฤกษะวัน

7.

นายนริศ

ดุษฎีวนิช

8.

นายธานี

สมิตร

9.

นายสุขุม

กำเนิดรัตน์

10.

นายพิเชฐ

พัฒนโชติ

11.

นายประเสริฐ

ตรงวิวัฒน์

12.

นางโรจนา

พัชนี

13.

นายประชุม

อุมาภรณ์สกุล

14.

นายกนก

ขอดทอง

15.

นายสมเจต

ทองหนูเกต

          โดยนายเกษม ทองนพคุณ เป็นประธานกรรมการ และให้นายสุกรี เอื้ออนันต์ ทำหน้าที่ผู้จัดการชั่วคราว เพื่อดำเนินการร่างข้อบังคับ และวางระเบียบต่าง ๆ

               5.1 คณะกรรมการฯ เข้าพบนายก สฟผ. ขอทราบนโยบายและขอการสนับสนุน ปรากฏว่า นายก สฟผ.ให้การสนับสนุนเต็มที่

               5.2 คณะกรรมการฯ เข้าพบนายก สฟผ. เรียนข้อเท็จจริงและขอคำแนะนำ ผวก.ให้คำแนะนำและสนับสนุนอย่างดียิ่ง

        5.3 คณะกรรมการฯ เริ่มประชาสัมพันธ์ มีการแจกเอกสารความรู้เรื่องสหกรณ์แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ พร้อมทั้งทำแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงานประมาณ 3,000 คน ได้รับการตอบสนับสนุนจากผู้ปฏิบัติงานสองพันกว่าคน รวมทั้งได้แจ้งวัตถุประสงค์ขอซื้อหุ้นถึงสามพันกว่าหุ้น และแจ้งความจำนงจะซื้อสินค้าประเภทต่าง ๆ ในวงเงินซื้อต่อเดือนมาด้วย ทำให้คณะกรรมการฯ สามารถเล้งเห็นถึงความสำเร็จในการก่อตั้งค่อนข้างแน่นอน

               5.4 คณะกรรมการฯ ไปขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการก่อตั้งตามขั้นตอนที่กำหนดตาม พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2511

               5.5 คณะกรรมการฯ เรียกประชุมผู้ที่ยื่นความจำนงซื้อหุ้นของสหกรณ์ พร้อมทั้งพิมพ์ร่างข้อบังคับให้พิจารณา ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ยื่นคำร้องขอก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้าต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมทั้งเลือกตั้งคณะกรรมการผู้ก่อตั้ง 15 คนไปดำเนินการ

               5.6 นายทะเบียนสหกรณ์ได้อนุมัติให้ก่อนตั้ง สก.กฟผ. ขึ้นถูกต้องตามกฏหมาย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2524

               5.7 คณะกรรมการฯ ผู้ก่อตั้งได้เริ่มเตรียมงาน โดยประสานงาน โดยประสานงานกับ สฟผ. และ สร.กฟผ.ในเรื่องโอนสินค้าและทรัพย์สิน รวมทั้งสถานที่และพนักงานขาย ซึ่งสามารถดำเนินการไปด้วยดี

               5.8 คณะกรรมการผู้ก่อตั้งเริ่มเรียกสมัครสมาชิก พร้อมทั้งรับเงินค่าหุ้น เพื่อดำเนินการตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2524 ปรากฏว่าสามารถรวบรวมทุนตามมูลค่าหุ้นได้ประมาณสองแสนบาท

               5.9 ในระหว่างนี้ ได้เริ่มปรับปรุงตบแต่งร้านพร้อมทั้งสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน

               5.10 มีการประสานกับสหกรณ์ร้านค้าในกรุงเทพมหานคร โดยการร่วมกลุ่มสหกรณ์ผู้บริจาคในกรุงเทพ เมื่อมีการช่วยเหลือกันด้านต่าง ๆ อาทิ การสั่งซื้อสินค้านราคาต้นทุนที่ถูก การให้ข้อมูลในคุณภาพประเภทสินค้า การให้การศึกษาาอบรมแก่สมาชิก กรรมการผู้จัดการ และพนักงาน

               5.11 คณะกรรมการผู้ก่อตั้ง กำหนดการเรียกประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ในวันที่ 20 มีนาคม 2524 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการต่อไป

               5.12 กำหนดทำการเปิดกิจการราวปลายเดือนเมษายน 2524 โดย

นางสุรีพันธ์

มณีวัต

เป็นประธานคณะกรรมการ

นายสุกรี

เอื้ออนันต์

เป็นเลขานุการ

นายประเสริฐ

ตรงวิวัฒน์

เป็นผู้จัดการ

            

             ต่อมาประมาณเดือนกรกฎาคม 2524 ร.ต.สมบูรณ์ ทองกลั่น ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง ร้านสหกรณ์ที่แม่เมาะ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ร้านค้าสโมสรที่แม่เมาะขายสินค้าระบบเงินเชื่อ โดยไม่ขายสินค้าเป็นเงินสด ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่แม่เมาะ ไม่มีโอกาสหลุดพ้นจากภาวะเป็นหนี้สิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง โดยได้หารือกับนานเสน่ห์ วรกุล ซึ่งเป็นอุปนายกสโมสรแม่เมาะในขณะนั้น จากนั้นได้จัดกลุ่มผู้ริเริ่ม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากสามหน่วยงานคือ โครงการก่อสร้างโรงจักรแม่เมาะ ระยะที่สอง เหมืองแม่เมาะ และโรงจักรแม่เมาะ โดยมีนายเกษม โรจนศักดิ์ เป็นประธาน

          ผู้ริเริ่มได้ประชุมหารือและวางแผนงานกันอย่างรัดกุม แล้วได้มีมติให้ตั้งเป็นสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 สาขา คือ สาขาโรงจักรบางปะกง โดยนายพันธ์ศักดิ์ โกเมศ เป็นผู้จัดการสาขา และสาขาเขื่อนภูมิพล โดยนายสุชาติ เอี่ยมสะอาด เป็นผู้จัดการสาขา

          ข้างต้นนั้นก็คือ ความเป็นมาโดยย่อของร้านสหกรณ์ของท่านในภาพที่ท่านเห็นอยู่ปัจจุบัน ซึ่งคณะกรรมการขอรายงาน เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่ง ฝากเก็บไว้กับท่านสมาชิก